วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
Tab Guitar Bass
Tab กีตาร์ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับผู้ที่อ่าน Note เพลงไม่เป็น ดังนั้น การอ่านTab ก็ไม่ใช่เรื่องยากแน่ๆ จริงไหมครับ เพราะถ้าอ่านTab ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะทำยังไงให้เค้าเข้าใจแล้วนะ
คราวนี้เราลองมาดูวิธีการอ่าน Tab แบบเบื้องต้นกันก่อนเลย
รูปข้างล่างนี้แทนสายกีตาร์ ซึ่งเลข 1 ก็คือสายเส้นเล็กสุด ส่วนเลข 6 ก็เป็นสายเส้นใหญ่สุดตามลำดับ เหมือนเราจับกีต้าร์อยู่ แล้วมองไปที่คอกีต้าร์ จะเห็นว่าสาย 1 จะอยู่ด้านบน เข้าใจไหมครับ
1 ----------------------------------------------
2 ----------------------------------------------
3 ----------------------------------------------
4 ----------------------------------------------
5 ----------------------------------------------
6 ----------------------------------------------
สิ่งที่คุณจะพบอีกอย่างในการอ่าน Tab ก็คือ ตัวเลขมากมายที่ปรากฏอยู่บนสายแต่ละเส้น ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะแทนการใช้นิ้วมือซ้ายกดสายกีตาร์ที่ช่องนั้นๆ บนคอกีตาร์ เช่น
เลข 0 = ไม่มีการกด , เลข 1 = กดช่องที่ 1 , เลข 2 = กดช่องที่ 2 เป็นต้น
เป็นต้น ลองดูตัวอย่าง กันเลยครับ
ตัวอย่างที่
1 ---------------------------------------------
2 -------------------------------0---1--------
3 ----------------------0---2-----------------
4 --------0---2---3--------------------------
5 ---3----------------------------------------
6 ---------------------------------------------
ตัวอย่างนี้ก็ง่ายๆ ครับ ใช้นิ้วมือซ้ายกดตามช่อง (ตัวเลข) ที่ระบุไว้ที่ละเส้น แล้วก็ใช้นิ้วมือขวา หรือปิ๊ก ในการดีดสายกีตาร์ตามเส้นที่เรากด ซึ่งเสียงที่ได้ออกมาก็จะเป็น "โด เร มี ฟา ..." จึงจะถูกต้อง
ส่วนใหญ่จะมีคำถามว่า เราจะรู้ได้ไงว่าจะต้องใช้นิ้วมือซ้ายนิ้วใหนในการกดสายกีตาร์ คำตอบก็คือ ไม่มีการกำหนดแน่ชัดครับว่าต้องเป็นนิ้วใหน แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนครับ ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็จะรู้เองครับว่าควรจะใช้นิ้วใหนในการกด
การเล่น Tab แต่ละเพลงให้ชำนาญนั้นอยู่ที่การฝึกฝน เพื่อนๆ อาจเล่น Tab เพลงหนึ่งได้คล่อง แต่อาจเล่นอีกเพลงหนึ่งไม่ได้เลย อันนี้ไม่แปลกครับ เพราะเราต้องลองเอา Tab ที่เราได้มา มาลองแกะแล้วหัดเล่นก่อน
ไม่ยากครับ อยากเก่ง ต้องขยันฝึกมากๆ และซ้อมให้มากๆ ผมเอาใจช่วยทุกคนครับ
--------------------------------------------------------------------------------
การsLapbAss
การเล่นเบสโดยใช้เทคนิค Slap เป็นการเล่นเบสอีกสไตล์หนึ่ง เพื่อให้เพลงดูน่าสนใจ มักใช้กันในแนวเพลง Funky , Soul , Pop , Jazz แต่เนื่องจากการ Slap เบสใช้ความสัมพันธ์ระหว่างมือซ้าย-มือขวาเป็นอย่างมาก ผู้ที่จะเล่นควรฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี สำหรับท่านที่สนใจการเล่นแบบนี้ เรามาเริ่มต้นฝึกกันเลยครับ
การจัดท่าทางในการเล่น Slap เบส
1. ยื่นนิ้วโป้งออกมา ทำมุมเกือบตั้งฉากกับนิ้วชี้ หรือเท่าที่จะกางได้นะครับ ไม่ต้องซีเรียส
2. จัดทิศทางของนิ้วโป้งให้ขนานไปกับแนวของสายเบส ทั้งนี้เพื่อความแม่นยำในการเล่น Slap
3. ส่วนนิ้วที่จะใช้เกี่ยวสายเบสขึ้นมา (Popping) คุณอาจใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางก็ได้ แล้วแต่ถนัดครับ
4. เวลาเล่น Slap จะต้องให้ข้อมือ,ข้อศอก,ไหล่สัมพันธ์กัน สำหรับมือใหม่จุดนี้อาจยังไม่เน้นมาก พอเมื่อเวลาคุณเล่นจนชำนาญ หรือในบางเพลงคุณต้องเล่น Slap เป็นเวลานานๆ เป็นธรรมชาติแล้ว คุณจะรู้สึกได้เองว่าถ้า 3 ส่วนนั้นทำงานร่วมกัน คุณจะไม่เหนื่อยมาก และจะไม่ปวดข้อมือ (กระจายแรงไปยังส่วนต่างๆ)
การ Slap
วางตำแหน่งของนิ้วโป้งให้ขนานไปกับสายเบส ให้ตำแหน่งของมืออยู่ประมาณปลายๆเฟร็ต และสะบัดข้อมือให้นิ้วโป้งตีสายเบสให้กระทบเฟร็ตสะบัดนิ้วโป้งออก
การ Pop
ใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางตามแต่คุณถนัดเกี่ยวสายเบสจากด้านในแล้วดึงสายเบสขึ้น จากนั้นปล่อยให้สายเบสกระทบเฟร็ต
--------------------------------------------------------------------------------
แบบฝึกหัดเบื้องต้น
Ex.1
G-------------0--1----------------------2--
D---------0---------1----------------2-----
A-----0----------------1---------2--------- Etc..
E--0-----------------------1--2------------
แบบฝึกหัดแรกนี้ จะทำให้คุณเกิดความคุ้นเคย และฝึกความแม่นยำในการฝึกเล่น Slap&Pop ในรอบแรกคุณอาจใช้การ Slap อย่างเดียว ไปทุกจุดของเบสโดยไล่ทีละเส้นก่อน จากนั้นก็ใช้การเล่น Pop อย่างเดียวบ้าง ค่อยๆทำจากช้าๆไปเร็วๆ เน้นให้เสียงออกมาชัดเจน สะอาดและมีน้ำหนักทุกๆโน๊ต
--------------------------------------------------------------------------------
Ex.2
G--------------------------------------------
D-------7------4------5------6---------------
A-------------------------------------------- Repeat
E----5------2------3------4------------------
-----T--P---T--P---T--P---T--P---------------
เมื่อฝึกลูกพื้นฐานแล้ว ก็มาฝึกลูกผสมระหว่าง Slap & Pop บ้างนะครับ โดยสัญลักษณ์ T = Thumb = Slap และ P = Pop นั่นเองครับ
--------------------------------------------------------------------------------
guitAr BaSS
เบส เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า) , electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้นๆว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสจะมีรูปร่างใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลักๆในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่างๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การจิ้มสาย การโซโล่ การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น
เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่นๆในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติของเบส) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่างๆก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่
เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว
เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่างๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่นๆอีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย ,9 สาย เป็นต้น
[แก้] ประวัติ
เมื่อกล่าวถึง Bassline เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bassline มีความ สำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano , alto , tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และ ออเครสตร้า เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเบสรุ่นแรกในโลก
ต่อมาเมื่อเริ่มมีดนตรีของคนแอฟริกัน คือ Ragtime ( ดนตรีแนวเต้นรำของชาวแอฟริกัน) และ New Orleans Jazz โดยมีอุปกรณ์เสียงต่ำที่เล่นจาก brass bass และ tuba เนื่องจากเป็นการเล่นโดยใช้ลมหายใจในการเป่า ที่ใช้ tuba ในการเล่นเป็นจังหวะ 2 beat ใน 1 bar และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลง jazz และเพลงเต้นรำ
เมื่อเพลงแจ๊ซมีการพัฒนาและเกิดการวิวัฒนาการขึ้นเป็นจังหวะ swing ในปี 1935 การแต่งและการเรียบเรียงดนตรีจึงเกิดมีความซับซ้อนและยุ่งยากตามมา แต่ในขณะนั้น ได้มีในงานดนตรีที่มีชื่อเสียงในวงการเพลงแจ๊ซ เช่น Duke Ellington , Count Basie and Benny Goodman และจังหวะแบบ 4 จังหวะ ใน 1 ห้องเพลง เริ่มเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้กันมากขึ้น ตั้งแต่ที่ brass bass ไม่สามารถที่จะเล่นในจังหวะนี้ได้ Acoustic upright bass จึงได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ขึ้นมาแทนที่ brass bass อย่างไรก็ตาม Acoustic upright bass ก็มีข้อจำกัดของมันเองอยู่เหมือนกัน ในเรื่อง ของลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่พกพายาก และมีน้ำเสียงที่ไม่สามารถดังดีพอและเหมาะสมในการเล่นร่วมกับวงดนตรีประเภท Big band ที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น brass จำนวน 7 ตัว ,เปียโน ,กีต้าร์ กลอง สิ่งนี้จึงมีการเกิดปัญหาต่อในหมู่คนเล่นเบส
ต่อมาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ เบสไฟฟ้าขึ้นมาตัวแรกของโลก เบสไฟฟ้าตัวแรกของโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดย Clarence Leo Fender ในปี 1951 จากบริษัท Fender Musical Intrumental Company (บริษัทเดียวกับที่ผลิตกีตาร์ Fender) ร่วมกันผลิตเบสที่มีชื่อรุ่นว่า Precision bass โดย Leo Fender ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาของเบสรุ่นเก่าที่มีปัญหาในเรื่องของเสียงและขนาดที่ใหญ่ของ Acoustic upright bass ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อรุ่นว่า Precision bass เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่แปลว่า "เบสที่มีความกระชับ " โดยมีการใช้เฟร็ทติดลงบน Fingerboard และ แก้ไขในเรื่องของน้ำเสียงให้ดีขึ้น
American Vintage ‘62 Precision Bass?Leo Fender กล่าวว่า "พวกเราต้องให้ความเป็นอิสระแก่มือเบสจาก Acoustic upright bassการผลิตเบสจึงเป็นการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตเบสขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือกับ George Fullerton Precision Bass รุ่นนี้มีการสร้างเฟรทที่ลำคอ มีลักษณะเป็น slab-bodied และ มี 34" scale ต่อมาเบสรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีระดับโลก ในทุก ๆ แขนงทางดนตรี เช่น Monk Montgomery ,Shifti Henri ,Dave Myers
วงของ Vibist Lionel Hampton นับเป็นรุ่นแรกที่นำ P-Bass ไปใช้ในการแสดง โดยมือเบสของเขา คือ Roy Johnson และเบสตัวนี้มีเสียงที่ออกมาได้อย่างน่าทึ่งมาก จากคำวิจารณ์ของ Leonard Feather ซึ่งได้เขียนในนิตยสาร Down Beat เมื่อ 30 กรกฎาคม 1952 หลังจาก Roy Johnson ออกจากวงของ Hampton Monk Montgomery จึงเป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นจากเบสตัวนี้ แต่เขาก็ยังคงใช้ upright bass ในการเล่นควบคู่กันไปในวงของเขา กับมือกีตาร์คือ Wes Montgomery (มือกีตาร์ฝีมือดีแห่งวงการ) ซึ่งเป็นน้องชายเขา
นอกจากนี้ นักดนตรี Blues ก็นำเอาเบสรุ่นนี้ไปใช้ในบทเพลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 1958 Dave Myers ได้นำ Precision Bass ไปใช้ในการบันทึกเสียงเบส ที่สร้างความสำเร็จให้แก่นักดนตรี Blues สมัยนั้นอย่างมากมาย โดย เขาได้พูดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1998 ว่า "ผมสร้างความประสบความสำเร็จให้กับ Fender Bass.."
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)